วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ
ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่
    
หมู่ 1A   2M(s) + 2H2O (l)          →         2M+(aq) + 2OH-(aq) + H2(g)
   เช่น     2Na(s) + (2H2O l)          →         2Na+(aq) + 2OH-(aq) + H2(g)
                  
•  โลหะหมู่ IA  และ  IIA  ทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารละลายเบสและก๊าซไฮโดรเจน  โดยโลหะหมู่ IA  จะเกิดปฏิริยากับน้ำได้ดังสมการ
2Na(s)  +  2H2O(l)    ®   2NaOH(aq)  +  H2(g)
   • โลหะหมู่ IIA  จะทำปฏิริยากับน้ำร้อนได้ดีกว่าน้ำเย็น
      Mg(s)  +  2H2O(l)    ®   Mg(OH)2(aq)  +  H2(g)
     ** สรุปความว่องไวในการทำปฏิกิริยากับน้ำได้ดังนี้                      ธาตุหมู่IA  >  หมู่ IIA  >  หมู่ IIIA
  การละลายน้ำของสารประกอบธาตุหมู่ IA  และ  IIA  อ่านต่อ
สารประกอบธาตุตัวอย่างสารประกอบ
หมู่IAหมู่ IIAหมู่ IAหมู่ IIA
คลอไรด์ÖÖLiCl , NaClMgCl2 , CaCl2 , BaCl2
ไนเตรตÖÖLiNO3  , KNO3Ca(NO3)2 , Ba(NO3)2
ซัลเฟตÖ´ยกเว้น MgSO4Na2SO4 , K2SO4CaSO4 , BaSO4
คาร์บอเนตÖ´Li2CO3 , Na2CO3MgCO3 , CaCO3
ไฮโดรเจนฟอสเฟตÖ´Na2HPO4, K2HPO4MgHPO4 , BaHPO4

บทที่ 2 พันธะเคมี

ชนิดของพันธะเคมี

พันธะภายในโมเลกุล
(intramolecular bond)
พันธะระหว่างโมเลกุล
(intermolecular bond)
พันธะโคเวเลนต์ (covalent bonds)
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bonds)
พันธะไอออนิก (ionic bonds)
แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals forces)
พันธะโลหะ ( metallic bonds)
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล - ไอออน
(molecule-ion attractions)

พันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึงแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 อะตอมอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่างกันมาก อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีน้อยจะให้อิเลคตรอนแก่อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีมาก และทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ อะตอมครบ 8 (octat rule ) กลายเป็นไอออนบวก และไอออนลบตามลำดับ เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ และเกิดเป็นโมเลกุลขึ้น เช่น การเกิดสารประกอบ NaCl ดังภาพ
จากตัวอย่าง Na ซึ่งมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ได้ให้อิเล็กตรอนแก่ Cl ที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 จึงทำให้ Na และ Cl มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 เกิดเป็นสารประกอบไอออนิก
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. มีขั้ว เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก ซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเลคตรอนทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูง      ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่ายอ่านต่อ
บทที่ 1 อะตอมและตารางธาตุ
   

        
    อะตอม คือหน่วยที่เล็กที่สุดของสสารที่ยังคงสภาพความเป็นสสารอยู่ได้
      แบบจำลองอะตอม ตามทฤษฏี มีอยู่  5 แบบ  คือ
1. แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
    
       สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก
           
          2.   แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
            - ค้นพบอิเล็กตรอน ที่ มีประจุไฟฟ้าลบ  มีมวลประมาณ1/2000 ของมวลของ H

              - โดยศึกษาพฤติกรรมของ หลอดรังสีแคโทด ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า



        
                3. แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด            
           การกระเจิง (scattering) ของอนุภาค a โดยแผ่นทองคำบางๆ

          รัทเทอร์ฟอร์ดพบว่ารังสีส่วนใหญ่ไม่เบี่ยงเบน และส่วนน้อยที่เบี่ยงเบนนั้น ทำมุมเบี่ยงเบนใหญ่มาก บางส่วนยังเบี่ยงเบนกลับทิศทางเดิมด้วยจำนวนรังสีที่เบี่ยงเบนจะมากขึ้นถ้าความหนาแน่นของแผ่นโลหะเพิ่มขึ้นอ่านต่อ



บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ    วีดีโอเรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่      หมู่ 1...